วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

โครงการเส้นทางเศรษฐกิจราชบุรีสู่อันดามัน


เมืองราชบุรีในอดีต นับว่าเป็นเมืองน่าด่านที่สำคัญ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า ปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์ว่า พม่าได้พยายามยกทัพผ่านเมืองราชบุรี เพื่อเข้าตีกรุงเทพมหานครในสงครามเก้าทัพ สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นการยกทัพเพื่อรุกรานไทยเป็นครั้งสุดท้ายอีกด้วย
จ.ราชบุรีเป็นเมืองชายแดนทิศตะวันตกของไทย มีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่าบริเวณ อ.สวนผึ้ง และ อ.บ้านคา เป็นระยะทางยาวประมาณ 73 กิโลเมตร ฝั่งสหภาพพม่าตรงข้ามกับ จ.ราชบุรี เป็นเทือกเขาตะนาวศรี มีแม่น้ำตะนาวศรีพาดผ่านจากตอนเหนือไหลลงสู่ทะเลอันดามันทางด้านทิศใต้บริเวณเมืองมะริด (MERGUI) แม่น้ำตะนาวศรีหรือที่เรียกกันว่า เกรทแทนเนสซาริน (TENASSERIM RIVER) อยู่ห่างจาก อ.สวนผึ้ง ออกไปทางทิศตะวันตกเพียง 12 กิโลเมตร มีความกว้างประมาณ 500 เมตร
จากการศึกษาแผนที่และภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อกำหนดแนวถนนที่เหมาะสมที่สุด เชื่อระหว่าง จ.ราชบุรี กับเมือเป (PE) ในสหภาพพม่า ในเบื้องต้นได้ข้อเท็จจริงว่า

ระยะทางในภุมิประเทศจากช่องห้วยคอกหมูใน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ถึงเมืองเป (PE) ริมฝั่งทะเลอันดามัน ในพม่า มีระยะเพียงประมาณ 120 กิโลเมตร โดยเส้นทางด้านที่ติดอยู่กับประเทศไทย เป็นระยะยาว 2 ใน 3 ของเส้นทาง มีลักษณะเป็นพื้นที่ภูเขา มีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ส่วนเส้นทางสู่ทะเลอันดามันที่เหลืออีกประมาณ 1 ใน 3 มีลักษณะเป็นถนนดินที่มีอยู่เดิม ซึ่งในไปสู่เมืองเป (PE) มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลุ่มมีเมืองต่างๆ ตามรายทาง คือ เมืองเย็บบู (YEBU) เมืองมิยังเบียง (MIGYAUNBYUAIN) เมืองลิชชี (LICHE) และเมืองเพตากัท (PETAKAT) สำหรับเมืองเป (PE) หากได้รับการพัฒนาจะกลายเป็นเมืองยุทธศาสตร์ เนื่องจากเหตุผลในด้านทำเลที่ตั้งเมือง ดังนี้ คือ

  1. เมืองเป (PE) อยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างเมืองทวายและเมืองมะริด และทางหลวงที่เชื่อมระหว่างเมืองทวายและเมืองมะริดตัดผ่านพอดี
  2. การศึกษาของ บริษัท อันดามันซี โทลเวย์และพอร์ต จำกัด (ANDAMAN SEA TOLLWAY&PORT LTD.) เมื่อ พ.ศ.2543 ระบุว่า "ชิเทียงยี" ซึ่งอยู่ใกล้เมืองเป (PE) มีความเหมาะสมที่จะก่อสร้างเป็นท่าเรือมาตรฐานนานาชาติ เนื่องจากจากพื้นที่บริเวณนี้ มีสิ่งป้องกันโดยธรรมชาติทางฝั่งเหนือ ได้แก่ ภูเขาที่เป็นแนวกำแพงธรรมชาติในทะเล แต่ก็ยังต้องการเขื่อนป้องกันคลื่นทางด้านทิศใต้ เนื่องจากในฤดูมรสุม คลื่นจะมีขนาดใหญ่
  3. เมืองเป (PE) อยู่ใกล้กับกรุงเทพมหานครมากกว่าเมืองใดๆ ในสหภาพพม่า ที่อยู่ติดกับทะเลอันดามัน คือมีระยะทางตามภูมิประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 300 กิโลเมตรเท่านั้น

ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาของ จ.ราชบุรี กรมการทหารช่างจึงได้นำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มาใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบแนวเส้นทาง โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการจัดทำแผนที่เส้นทาง ซึ่งมีรายละเอียดตามผังที่แนบ และได้นำเสนอในงานแถลงศักยภาพและบทบาทของกรมการทหารช่าง กับงานยุทธศาสตร์การพัฒนา จ.ราชบุรี ต่อ หัวหน้าส่วนราชการทั้งภาครัฐและเอกชนและกลุ่มพลังมวลชนต่างๆ เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2547 ที่ผ่านมา

ซึ่งหลังจากนั้น จังหวัดราชบุรี จึงได้ออกคำสั่งที่ 2313/2547 ลงวันที่ 20 ก.ย.2547 แต่งตั้งคณะทำงานสำรวจและศึกษาความเหมาะสมเชิงพานิชย์ ในการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ระหว่างไทย-สหภาพพม่า ด้าน จ.ราชบุรี เพื่อสำรวจและศึกษาสภาพพื้นที่ศักยภาพ ตลอดจนความเหมาะสมเชิงพาณิชย์ ในการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมจาก จ.ราชบุรีสู่ฝั่งทะเลอันดามัน


แม้จะไม่มีถนนที่สะดวกสบายในสหภาพพม่า เช่นเดียวกับประเทศไทย แต่การค้าระหว่าง 2 ประเทศ ที่มีพรมแดนติดต่อกัน จาก จ.เชียงราย ถึง จ.ระนอง ในปี 2546 ที่ผ่านมา ก็มีมูลค่ารวมถึง 57,716 ล้านบาท โดยไทยเป็ยฝ่ายขาดดุลการค้าอยู่ถึง 33,675 ล้านบาท และมูลค่าการค้าขายระหว่างไทย-พม่า ก็ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวมา
กขึ้น ท่ามกลางกระแสความไม่แน่นอนทางการเมืองในสหภาพพม่านั่นเอง โดย จ.ราชบุรี แม้จะมีพรมแดนติดต่อกับพม่า แต่ก็ไม่มีมูลค่าการค้าขายระหว่างกันเกิดขึ้นเลย นับตั้งแต่การปิดจุดผ่านแดนเพื่อนำเข้าไม้จากพม่า เมื่อปี 2535 เป็นต้นมา สำหรับสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปยังสหภาพพม่าในปี 2546 คือ อุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งมีมูลค่าทั้งสิ้น 2,802 ล้านบาท ส่วนสินค้าส่งออกที่สำคัญของสหภาพพม่า มายังประเทศไทย ในปี 2546 คือ เชิ้อเพลิง ซึ่งมีมูลค่าถึง 44,272 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การสร้างถนนจาก จ.ราชบุรี สู่ทะเลอันดามัน จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการค้าระหวางประเทศไทยกับสหภาพพม่าอย่างมหาศาล โดยเฉพาะนักธุรกิจชาวไทยที่มีสินค้าต่างๆ ทุกชนิดพร้อมที่จะส่งออก แต่ก็จำกัดด้วยเส้นทางคมนาคม ที่จะนำสินค้าเข้าสู่เมืองสำคัญในสหภาพพม่า ยิ่งไปกว่านั้น เส้นทางสาย จ.ราชบุรี สู่ทะเลอันดามัน จะสามารถร่นระยะทางที่จะขนสินค้าไปสู่อินเดีย และยุโรป ได้อีกด้วย โดยคาดว่า หากได้รับการผลักดันอย่างจริงจังจากรัฐบาลทั้งสองประเทศแล้ว โครงการนี้จะสร้างผลประโยชน์ให้กับไทยและสหภาพพม่า ดังนี้

    1. ประเทศไทยมีเส้นทางขนถ่ายสินค้าสู่ท่าเรือในทะเลอันดามันที่สั้นที่สุดราว 300 กิโลเมตรจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะสามารถประหยัดเงินและเวลาในการขนส่งผ่านท่าเรือสิงค์โปร์ ที่จะต้องมีระยะทางเพิ่มขึ้น 1,250 ไมล์ทะเล (2,312 กิโลเมตร) หรือราว 3 วัน เพื่อส่งสินค้าไปหรือจากอินเดีย ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
    2. เพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศของไทยกับสหภาพพม่า โดยสินค้าที่สหภาพพม่าต้องการจากไทย ได้แก่ สินค้าอุปโภค บริโภค และวัสดุก่อสร้างทุกชนิด ส่วนสินค้าที่ไทยต้องการจากสหภาพพม่า ได้แก่ เชื้อเพลิง ประมง ปศุสัตว์ แร่ธาตุต่างๆ และพืชผลทางเกษตร
    3. เปิดโอกาสให้นักลงทุนไทย เข้าไปลงทุนผลิตสินค้าในสหภาพพม่าได้ โดยอาศัยโครงงานถนน (Land Bridge) และท่าเรือในการขนส่งผลิตผล โดยคาดว่าอุตสาหกรรมที่มีความเป็นไปได้ในการลงทุน ได้แก่ อุตสาหกรรมทอผ้า, อัญมณี,การแปรรูปอาหารทะเลและสินค้าการเกษตร, การทำเหมืองแร่ อุตสาหกรรมที่รองรับการท่องเที่ยวได้แก่ โรงแรม การนำเที่ยว ภัตตาคาร สถานบันเทิง คาซิโน เป็นต้น
    4. ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่วของไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในลักษณะที่เป็น Package Tour เนื่องจากระยะทางไปยังแม่น้ำตะนาวศรี และเมือเป ไม่ไกลมากนัก สามารถเดินทางไป-กลับได้ภายในวันเดียว อันจะช่วยส่งเสริมการเดินทางผ่านสนามบินสุวรรณภูมิ และกระตุ้นให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวที่ จ.ราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีธุรกิจที่จะได้รับประโยชน์โดยตรง คือ โรงแรม การท่องเที่ยว ภัตตาคาร ตลอดจนอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่ระลึกและของใช้เบ็ดเตล็ดต่างๆ (เครื่งปั้นดินเผา,ทอผ้า ฯลฯ)
    5. ส่งผลให้เกิดการอพยพกลับประเทศของแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก เนื่องจากมีการลงทุนและการจ้างงานในสหภาพพม่า จึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะทำงานในประเทศของตน และไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกจับกุม โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งสองฝ่าย
    6. เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับทั้งสองชาติ เนื่องจากเป็นการนำเอาความแตกต่างที่มีอยู่มาสร้างเป็นจุดแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

แนวทางในการดำเนินการ

  • 1 ปี --->จัดทำการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (Feasibility Study) และศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Enviroment Impact Assessment)
  • 8 เดือน ---> การสำรวจและออกแบบรายละเอียด (Survey and Detailed Design)
  • 5 ปี --->การก่อสร้าง (ถนน+ท่าเรือ)
  • 5 ปี ขึ้นไป ---> การก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม

จากการประชุมร่วมกันอย่างเป็นทางการและแอย่างไม่เป็นทางการจำนวนหลายครั้งที่ผ่านมา ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมทั้งส่วนราชการทุกส่วนใน จ.ราชบุรี และหอการค้า จ.ราชบุรี ต่างให้ความสนใจที่จะขยายผลแนวความคิดนี้ ไปสู่การปฏิบัติโดยเร็วที่สุด เพื่อขยายโอกาสทางการค้าของภูมิภาค จึงสมควรอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุนงบประมาณ เพื่อศึกษารายละเอียดการจัดทำโครงการต่อไป



ที่มา : กรมการทหารช่าง.(______). เอกสารบรรยายสรุปโครงการเส้นทางเศรษฐกิจ ราชบุรี สู่อันดามัน. เอกสารจริง.





อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สภาพทางสังคม

การศึกษา

จังหวัดราชบุรีแบ่งพื้นที่เขตการศึกษาเป็น 2 เขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้

  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 ประกอบด้วย สถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่อำเภอ เมือง อำเภอจอมบึง อำเภอสวนผึ้ง อำเภอปากท่อ อำเภอวัดเพลง และอำเภอบ้านคา มีสถานศึกษา รวม จำนวน 199 แห่ง
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 ประกอบด้วย สถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่อำเภอ ดำเนินสะดวก อำเภอบ้านโป่ง อำเภอบางแพ และอำเภอโพธาราม มีสถานศึกษารวม จำนวน 168 แห่ง
ศาสนา
  • การนับถือศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 97.48 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 2.06 และนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 0.54
  • ศาสนสถาน
    􀂾 วัด รวมทั้งสิ้น จำนวน 378 แห่ง
    􀂾 โบสถ์คริสต์ รวมทั้งสิ้น จำนวน 14 แห่ง
    􀂾 มัสยิด รวมทั้งสิ้น จำนวน 4 แห่ง

ที่มา : http://www.ratchaburi.go.th/data/storyofratchaburi.pdf

อ่านต่อ >>

ประชากร

จังหวัดราชบุรีมีจำนวนประชากร ณ เดือนมกราคม 2552 จำนวน 837,383 คน จำแนกเป็น ชาย 409,527 คน หญิง 427,856 คน จำนวนครัวเรือน 257,251 ครัวเรือน

  1. อ.เมืองราชบุรี ชาย 57,903 คน หญิง 59,103 คน รวม 117,006 คน 37,086 ครัวเรือน
  2. อ.จอมบึง ชาย 25,791 คน หญิง 26,015 คน รวม 51,806 คน 14,556 ครัวเรือน
  3. อ.สวนผึ้ง ชาย 17,968 คน หญิง 16,277 คน รวม 34,245 คน 10,634 ครัวเรือน
  4. อ.ดำเนินสะดวก ชาย 36,015 คน หญิง 38,815 คน รวม 74,830 คน 18,926 ครัวเรือน
  5. อ.บ้านโป่ง ชาย 45,165 คน หญิง 48,722 คน รวม 93,887 คน 28,644 ครัวเรือน
  6. อ.บางแพ ชาย 8,600 คน หญิง 9,251 คน รวม 17,851 คน 5,428 ครัวเรือน
  7. อ.โพธาราม ชาย 37,230 คน หญิง 39,467 คน รวม 76,697 คน 22,401 ครัวเรือน
  8. อ.ปากท่อ ชาย 23,729 คน หญิง 24,804 คน รวม 48,533 คน 14,436 ครัวเรือน
  9. อ.วัดเพลง ชาย 5,125 คน หญิง 5,500 คน รวม 10,625 คน 2,900 ครัวเรือน
  10. อ.บ้านคา ชาย 12,382 คน หญิง 11,600 คน รวม 23,982 คน 7,561 ครัวเรือน


ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง www.dopa.go.th (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2552) อ้างถึงใน http://www.ratchaburi.go.th/data/storyofratchaburi.pdf

อ่านต่อ >>