วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเภทโรงงานอุตสากรรมในจังหวัดราชบุรี

โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดราชบุรี มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,321 แห่ง (ข้อมูลจาก สำนักงานอุตสากรรมจังหวัดราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.2551) โดยแยกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ (เรียงจากมากไปหาน้อย)
  1. อาหาร จำนวน 176 แห่ง
  2. อโลหะ จำนวน 158 แห่ง
  3. ขนส่ง จำนวน 142 แห่ง
  4. ไม้และผลิตภัณฑ์ จำนวน 101 แห่ง
  5. การเกษตร จำนวน 100 แห่ง
  6. ผลิตภัณฑ์โลหะ จำนวน 98 แห่ง
  7. เครื่องจักรกล จำนวน 80 แห่ง
  8. สิ่งทอ จำนวน 62 แห่ง
  9. เคมี จำนวน 34 แห่ง
  10. พลาสติก จำนวน 34 แห่ง
  11. เฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน จำนวน 20 แห่ง
  12. กระดาษและผลิตภัณฑ์ จำนวน 18 แห่ง
  13. ไฟฟ้า จำนวน 17 แห่ง
  14. ยาง จำนวน 14 แห่ง
  15. โลหะ จำนวน 11 แห่ง
  16. เครื่องแต่งกาย จำนวน 10 แห่ง
  17. ปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์ จำนวน 7 แห่ง
  18. เครื่องดื่ม จำนวน 4 แห่ง
  19. สิ่งพิมพ์ จำนวน 3 แห่ง
  20. เครื่องหนัง จำนวน 2 แห่ง
  21. อุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวน 230 แห่ง
ที่มาข้อมูล
สำนักงานพลังงานจังหวัดราชบุรี. (2553). สถานการณ์พลังงานจังหวัดราชบุรี 2553. กระทรวงพลังงาน. (หน้า 45)
อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทิศทางการพัฒนาอ้อยและน้ำตาลจังหวัดราชบุรี พ.ศ.2553-2556

จ.ราชบุรีมีพื้นที่ปลูกอ้อยมากเป็นอันดับที่ 14 ใน 47 จังหวัด ที่มีการปลูกอ้อยของประเทศไทย โดย จ.กาญจนบุรีมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดของประเทศ สำหรับพื้นที่ปลูกในภูมิภาคตะวันตก จ.ราชบุรีมีพื้นที่ปลูกรองจาก จ.กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี

กลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร สำนักงานการเกษตรและสหกรณ์ จ.ราชบุรี ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาอ้อยและน้ำตาลของ จ.ราชบุรี ในปี พ.ศ.2553-2556 สรุปดังนี้

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการผลิตอ้อยและน้ำตาลของ จ.ราชบุรี  (เมื่อเดือน ต.ค.2553)

ปัจจัยภายในราชบุรี

จุดแข็ง (Strength) ได้แก่
  1. อ้อยโรงงานเป็นพืชพลังงานที่มีศักยภาพสูง เมื่อเปรียบเทียบกับพืชชนิดอื่นๆ สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน อีกทั้งทุกภาคส่วนมีการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมและการหาพลังงานทดแทน นอกจากนำมาผลิตน้ำตาลแล้ว ยังสามารถผลิตเอทานอลได้ด้วย
  2. อ้อยโรงงานเป็นพืชที่มีศักยภาพในการพัฒนาการผลิต ให้มีคุณภาพดีตามความต้องการของโรงงาน และปริมาณผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่สูงได้ หากมีการส่งเสริมให้ใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม และบริหารจัดการที่ดี
  3. หน่วยงานภาครัฐ มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ปลูกอ้อยของจังหวัดครบทุกตำบล ขณะที่ผู้แทนเกษตรกร มีเกษตรชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาลมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไร่และหัวหน้าโควต้า เป็นเครือข่ายกระจายอยู่ในพื้นที่ทั่วทั้งจังหวัด สามารถประสานการดำเนินงานต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ
  4. มีโรงงานน้ำตาลและเอทานอลในพื้นที่ ที่ให้การส่งเสริมการผลิตและรับซื้อผลผลิตของเกษตรกร
  5. สภาพพื้นที่และภูมิอากาศของ จ.ราชบุรี มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของอ้อย ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในที่ลุ่มที่ดอน
  6. อ้อยเป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายปี
  7. มีหน่วยงานภาครัฐด้านการวิจัยและพัฒนาการเกษตรอยู่ในพื้นที่ ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเคโนโลยีได้ง่าย
จุดอ่อน (Weakness) ได้แก่
  1. อ้อยพันธุ์ดีที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ ยังไม่สามารถกระจายถึงมือเกษตรกร ครอบคลุมพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมดได้ เนื่องจากแปลงพันธุ์ดีมีไม่เพียงพอ
  2. การผลิตอ้อยของเกษตรกร ยังไม่ได้คุณภาพ เช่น การเผาอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว(เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน ไร่อ้อยไม่สะอาด) ตัดอ้อยยอดยาว มีสิ่งเจือปนในอ้อยเนื่องจากการคีบ เป็นต้น
  3. เกิดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชอ้อยระบาด และมีแนวโน้มว่าจะระบาดรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น หากไม่ได้ดำเนินการป้องกันและกำจัดอย่างถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่อง โรคและแมลงที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบขาว และแมลงนูนหลวง
  4. ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
  5. ใช้แรงงานมากและทุนการผลิตที่สูง
  6. ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ เนื่องจากพื้นที่ปลูกอ้อย ร้อยละ 80 อยู่นอกเขตชลประทาน อาศัยน้ำฝนในการเจริญเติบโต ปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอต่อการเพิ่มผลผลิต ผลผลิตต่อไร่จึงต่ำ
  7. เกษตรกรไม่มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม (กลุ่มเกษตรกร, กลุ่มสหกรณ์ ฯลฯ) ที่ทางการรับรอง ทำให้เกษตรกรไม่มีความเข้มแข็ง การบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ
ปัจจัยภายนอก

โอกาส (Opportunity) ได้แก่
  1. รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานชีวภาพจากการผลิตทางการเกษตร เป็นพลังงานทดแทน และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตการเกษตร
  2. การส่งเสริมการผลิตอ้อยโรงงาน มีคณะอนุกรรมการอ้อยระดับท้องถิ่นเขต 2 จังหวัดราชบุรี ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐ เอกชน (ผู้แทนโรงงาน) และผู้แทนเกษตรกรที่เป็นองค์กรสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. การส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ดำเนินการโดยคณะกรรมการที่มีทั้งภาคราชการ เอกชน และเกษตรกร และมีกฏหมายรองรับเป็นการเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527
  4. อ้อยเป็นพืชพลังงานที่มีศักยภาพสูงในการผลิตเป็นพลังงานทดแทน และมีความต้องการสูง
  5. ทีเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่ทันสมัย
อุปสรรค (Threat) ได้แก่
  1. พื้นที่ปลูกอ้อยของจังหวัดราชบุรี ร้อยละ 82 อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรต้องอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก ทำให้ผลผลิตอ้อยต่ำ และมีความเสี่ยงในการผลิต
  2. การส่งเสริมการผลิตอ้อย ของคณะอนุกรรมการอ้อยระดับท้องถิ่น เขต 2 จังหวัดราชบุรี ดำเนินการได้ในสัดส่วนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมดของจังหวัด และการขยายผลสู่เกษตรกรเป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ
  3. ไม่มีแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาที่ชัดเจน ในการของบประมาณสนับสนุนจากทางราชการ

จังหวัดราชบุรี จึงได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาการผลิตอ้อยและน้ำตาลของจังหวัด ดังนี้
  1. ส่งเสริมแปลงขยายอ้อยพันธุ์ดีแก่เกษตรกร
  2. ส่งเสริมให้ชาวไร่อ้อยปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์
  3. ส่งเสริมการปลูกอ้อยในพื้นที่นาไม่เหมาะสม และใกล้โรงงาน
  4. เพิ่มพื้นที่ชลประทาน
  5. ภาครัฐสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยอย่างทั่วถึง
  6. ภาครัฐควรมีการประกันราคาอ้อยตามความเป็นจริง เพื่อให้สอดคล้องกับราคาปัจจัยการผลิตที่มีต้นทุนสูงขึ้น
วิสัยทัศน์การพัฒนา : "จังหวัดราชบุรีเป็นแหล่งผลิตอ้อยที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ"
พันธกิจ
  1. สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษ๖รกรในการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตอ้อย
  2. พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของอ้อย อย่างน้อย 10%
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาบริหารจัดการอ้อย ประกอบด้วยกลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
  1. บูรณาการแผนงาน/โครงการการพัฒนาอ้อย
  2. ส่งเสริมผลักดันโครงการพัฒนาอ้อย
  3. ติดตามประเมินผลโครงการ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาประสิทธิภาพด้านการผลิตและคุณภาพอ้อย ประกอบด้วยกลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
  1. ส่งเสริมพัฒนาการผลิตอ้อยให้มีประสิทธิภาพ
  2. ส่งเสริมพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยให้เข้มแข็ง
  3. ส่งเสริมพัฒนากระบวนการผลิตอ้อยให้มีคุณภาพ
--------------------------------------------------------------

ที่มาข้อมูล
กลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี. (2553). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอ้อยจังหวัดราชบุรี. เอกสารประกอบการประชุม. (หน้า 28-33).
อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์บริการประชาชน ด้านการพาณิชย์จังหวัดราชบุรี

ความเป็นมา
แนวคิด : ศูนย์บริการประชาชนด้านการพาณิชย์ (One Stop Service Center : OSS) เป็นภารกิจหลัก (Core Business) ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเพื่อปรับระบบและวิธีการปฏิบัติงานของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจการค้าจังหวัดให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

บทบาทและหน้าที่
ศูนย์บริการประชาชนด้านการพาณิชย์ จังหวัดราชบุรี คือศูนย์ให้บริการรับเรื่องราวร้องเรียนและให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์ในระดับจังหวัด เพื่อเชื่อมโยงบริการระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่ตั้ง : เลขที่ 45 ถ.อำเภอ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทรศัพท์ 0-3233-8995 โทรสาร 0-3233-7106 อีเมล์ : rb_ops@moc.go.th

ข้อมูลการให้บริการ

  • ข้อมูลการตลาดประจำปี
  • สถิติการจดทะเบียนนิติบุคคล
  • ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าจังหวัด
  • ข้อมูลบริการข่าวตลาด
  • ข้อมูลการค้าชายแดนไทย
  • คลังข้อมูลเศรษฐกิจการค้าจังหวัดราชบุรี
  • ข้อมูลนำเข้า-ส่งออกไทย
  • ราคาสินค้า
  • สถิติและข้อมูลธุรกิจ
  • ข้อมูลสิทธิประโยชน์ทางการค้า
  • การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
  • ข้อมูลข่าวทรัพย์สินทางปัญญา
  • ข้อมูลทางการค้าและส่งออกรายประเทศ
  • ข้อมูลด้านการตลาดแก่ผู้ผลิตในชุมชน
  • ข้อมูลสินค้าและการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์
  • ข้อมูลราคา ดัชนีราคา ดัชนีเศรษฐกิจ
  • ข้อมูลราคาขายส่ง-ขายปลีกสินค้าเกษตร
  • ข้อมูลกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก

สามารถใช้บริการผ่านทาง : http://pcoc.moc.go.th/wappPCOC/70/ และ http://www.moc.go.th/pcoc/

ที่มา : ศูนย์บริการประชาชนด้านการพาณิชย์จังหวัดราชบุรี. (2553). แผ่นพับประชาสัมพันธ์.
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553

จำนวนโรงงานในจังหวัดราชบุรี ณ มีนาคม 2553


จำนวนโรงงานในจังหวัดราชบุรี แยกตามอำเภอ
(ข้อมูลเมื่อ มีนาคม 2553)

อำเภอเมือง
  1. จำนวน 346 โรงงาน
  2. เงินทุน 52,163,959,230 บาท
  3. คนงาน ชาย 6,082 คน หญิง 3,524 คน รวม 9,606 คน
  4. แรงม้า 31,287,442.29
อำเภอจอมบึง
  1. จำนวน 57 โรงงาน
  2. เงินทุน 1,756,337,900 บาท
  3. คนงาน ชาย 532 คน หญิง 619 คน รวม 1,151 คน
  4. แรงม้า 18,809.36
อำเภอสวนผึ้ง
  1. จำนวน 16 โรงงาน
  2. เงินทุน 78,817,505 บาท
  3. คนงาน ชาย 103 คน หญิง 156 คน รวม 259 คน
  4. แรงม้า 2,297.29
อำเภอดำเนินสะดวก
  1. จำนวน 54 โรงงาน
  2. เงินทุน 2,190,819,780 บาท
  3. คนงาน ชาย 677 คน หญิง 217 คน รวม 894 คน
  4. แรงม้า 1,889,658.71
อำเภอบ้านโป่ง
  1. จำนวน 472 โรงงาน
  2. เงินทุน 22,751,855,159 บาท
  3. คนงาน ชาย 13,863 คน หญิง 13,598 คน รวม 27,461 คน
  4. แรงม้า 1,188,237.75
อำเภอบางแพ
  1. จำนวน 42 โรงงาน
  2. เงินทุน 1,785,369,835 บาท
  3. คนงาน ชาย 837 คน หญิง 248 คน รวม 1,085 คน
  4. แรงม้า 37,741.94
อำเภอโพธาราม
  1. จำนวน 242 โรงงาน
  2. เงินทุน 6,193,670,516 บาท
  3. คนงาน ชาย 4,752 คน หญิง 7,479 คน รวม 12,231 คน
  4. แรงม้า 308,853.84
อำเภอปากท่อ
  1. จำนวน 123 โรงงาน
  2. เงินทุน 2,134,927,000 บาท
  3. คนงาน ชาย 1,574 คน หญิง 699 คน รวม 2,273 คน
  4. แรงม้า 107,608.34
อำเภอวัดเพลง
  1. จำนวน 8 โรงงาน
  2. เงินทุน 21,825,000 บาท
  3. คนงาน ชาย 64 คน หญิง 21 คน รวม 85 คน
  4. แรงม้า 944.72
อำเภอบ้านคา
  1. จำนวน 10 โรงงาน
  2. เงินทุน 357,820,000 บาท
  3. คนงาน ชาย 239 คน หญิง 437 คน รวม 712 คน
  4. แรงม้า 8,925.86
รวมทั้งจังหวัด
  1. จำนวน 1,370 โรงงาน
  2. เงินทุน 89,435,441,925 บาท
  3. คนงาน ชาย 28,723 คน หญิง 27,034 คน รวม 55,757 คน
  4. แรงม้า 34,850,520.10

***************************************************
ดูข้อมูลจำนวนโรงงานในจังหวัดราชบุรี ใหม่ ณ เดือนธันวาคม 2553


ที่มา : เอกสารประกอบการประชุม คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ จ.ราชบุรี (กรอ.จังหวัดราชบุรี) ครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 7 เม.ย.2553 ณ ห้องประชุมกาสะลอง โรงแรมเวสเทิร์นแกรนโฮเต็ล จ.ราชบุรี
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สถานการณ์การประมง จ.ราชบุรี ปี 2553

การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
สถานภาพในปัจจุบัน ระบบการเลี้ยงค่อนข้างพัฒนาได้มาตรฐาน มีการนำเทคโนโลยีและระบบการจัดการฟาร์มมาใช้ ทุกฟาร์มได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการที่ดี ฟาร์มเล้ยงสัตว์น้ำ (GAP) จากกรมประมง ปัจจุบันมีฟาร์มอยู่ประมาณ 530 ฟาร์ม
ปัญหา/แนวโน้มของปัญหา

  1. ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง โดยเฉพาะค่าอาหารสัตว์น้ำ
  2. ปัญหาเรื่องโรค โดยเฉพาะลูกกุ้ง
  3. ปัญหาเรื่องน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาหลัก เนื่องจากใช้น้ำจากคลองธรรมชาติ ซึ่งไหลผ่านพื้นที่มีการประกอบกิจกรรมที่หลากหลาย มีการระบายน้ำและของเสียลงสู่ลำคลองสายหลัก ที่ใช้เลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และอุตสาหกรรม
แนวทางการแก้ไข
  1. รัฐบาลกำกับดูแลควบคุม ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำ
  2. กรมประมงศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและถ่ายทอดให้กับภาคเอกชน
  3. ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงในระบบปิดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีการปล่อยน้ำทิ้งลงแหล่งน้ำหรือให้มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนระบายลงแหล่งน้ำ
  4. จัดตั้งคณะกรรมการร่วมทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการการใช้น้ำอย่างเหมาะสมและกำหนดขอลเขตพื้นที่ (Zoning) ในการดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่นั้นๆ
การเลี้ยงปลาน้ำจืด
สถานภาพในปัจจุบัน แหล่งใหญ่อยู่ในเขต อ.โพธาราม, บางแพ และดำเนินสะดวก อาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงปลานิล และปลาตะเพียนขาว
ปัญหา/แนวโน้มของปัญหา ยังไม่พบปัญหาที่ชัดเจน เกษตรกรส่วนใหญ่จะรวมกลุ่ม มีตลาดค่อนข้างแน่นอน ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คือ เรื่องสภาวะน้ำเสีย เพราะส่วนใหญ่ใช้น้ำจากแม่น้ำหรือคลองธรรมชาติที่ไหลผ่านพื้นที่ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งเกษตรกร ปศุสัตว์ และอุตสาหกรรม
แนวทางการแก้ไข จัดตั้งคณะกรรมการร่วมทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการการใช้น้ำอย่างเหมาะสมและกำหนดขอบเขตพื้นที่ (Zoning) ในการดำเนินกิจกรรมประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่นั้นๆ

การเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม
สถานภาพในปัจจุบัน อ.บ้านโป่ง เป็นแหล่งผลิตปลาสวยงามที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีมูลค่าการผลิตเป็นมูลค่ารวมร้อยละ 90 ของประเทศ
ปัญหา/แนวโน้มของปัญหา
  1. มาตรฐานปลาสวยงามยังไม่ครอบคลุม มาตรฐานพวกการส่งออก สรอ.คือ สถานที่รวบรวมสัตว์น้ำสำหรับส่งออก, สพอ. คือ สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับส่งออก เกษตรกรยังไม่สนใจมากนัก เพราะส่วนใหญ่ยังไม่ส่งออก เพราะมีความสามารถขายได้ในประเทศ เมื่อมีการสั่งซื้อสำหรับส่งออก จึงให้ความสนใจกันอีกครั้งหนึ่ง
  2. ปลาสวยงามในจังหวัดราชบุรี เป็นแหล่งที่มีปลาคุณภาพ แต่ยังขาดการควบคุมมาตรฐานภายในฟาร์ม ผู้ค้าต่างประเทศสนใจไปที่ตลาดอินโดนีเซีย ตลาดมาเลเซีย ตลาดสิงคโปร์ มากกว่า เพราะมีตลาดกลางที่แน่นอน และเป็นแหล่งรวมปลาที่มีคุณภาพ
  3. เกษตรกรยังไม่เกิดการรวมกลุ่ม ยังขายปลาสวยงามแบบตัวใครตัวมันอยู่ เกิดเกษตรกรรายใหม่ขึ้นมากมาย ทำให้คุณภาพของปลาที่ออกมาลดลง ปลาจึมีราคาถูกลง ส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงโดยรวม
  4. ขั้นตอนขอใบรับรอง ต้องใช้เวลานานในการตรวจสอบ เกิดความยุ่งยาก เกษตรกรเกิดความเบื่อหน่าย และรู้สึกเสียเวลา
แนวทางการแก้ไข
  1. กรมประมงร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัด ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคของปลาสวยงามที่พบในหน้าหนาว ออกติดตามและให้ความรู้กับเกษตรกร
  2. ให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับมาตรฐานต่างๆ เพื่อให้เห็นข้อดี ข้อเสีย ของมาตรฐษนต่างๆ เหล่านั้น (GAP, สรอ.,สพอ.)
  3. จัดตลาดกลางหรือตลาดที่เป็นศูนย์กลางใน จ.ราชบุรี เพื่อจูงใจให้ต่างชาติ รู้ว่าราชบุรีเป็นแหล่งผลิตปลาสวยงามที่มีคุณภาพ มีการประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์ เป็นภาษาอังกฤษ ให้ชาวต่างชาติรู้ และมีการ UPDATE ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา มีการจัดประกวดปลาสวยงามในจังหวัด ประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างชาติสนใจมากขึ้น
  4. กรมประมง สำนักงานประมงจังหวัด ร่วมกันให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสวยงามเกิดการรวมกลุ่มกันมากขึ้น เช่น ในลักษณะของชมรม หรือวิสาหกิจชุมชน เพื่อรักษาคุณภาพของปลาสวยงามในกลุ่ม เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และรักษาระดับคุณภาพของปลาสวยงามของสมาชิกภายในกลุ่ม
  5. พัฒนาระบบการทำงานให้รวดเร็วขึ้น ลดขั้นตอนเรื่องคำขอ คำอนุญาต ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน แต่เพิ่มคุณภาพในการทำงานให้มากขึ้น

การเลี้ยงกุ้งขาว
สถานภาพในปัจจุบัน อ.บางแพ และ อ.โพธาราม เป็นแหล่งเลี้ยงแหล่งใหญ่ ฟาร์มทั้งหมดได้มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ GAP
ปัญหา/แนวโน้มของปัญหา
  1. การเกิดโรคระบาดในกุ้งขาวที่เลี้ยง ได้แก่ โรคตัวแดงดวงขาว โรคหัวเหลือง
  2. สภาวะน้ำเสีย ซึ่งเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และกิจกรรมฟาร์มปศุสัตว์ เช่น สุกร และโคนม เป็นต้น สร้างผลกระทบต่อผลผลิตของฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งขาวที่อยู่ในบริเวณที่มีการระบายน้ำเสียผ่าน

แนวทางการแก้ไขปัญหา

  1. รณรงค์ให้ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้ง จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนระบายลงแหล่งน้ำสาธารณะ เป็นแนวทางในการป้องกันมิให้เกิดโรคระบาดกุ้ง ตามเกณฑ์มาตรฐานของฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง COC
  2. ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด ประมงจังหวัด สิ่งแวดล้อมจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด องค์กรปกครองท้องถิ่น ตลอดจนผู้ประกอบการภาคเอกชน เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างเหมาะสม และควรมีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ (Zoning) โดยจัดระเบียบให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่นั้นๆ

ที่มา : เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดราชบุรี (กรอ.จังหวัดราชบุรี) ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันศุกร์ที่ 5 ก.พ.2553 ณ ห้องประชุมหลวงยกกระบัตร ศาลากลาง จ.ราชบุรี

อ่านต่อ >>

สถานการณ์เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว จ.ราชบุรี ปี 2553




เศรษฐกิจหลักของประเทศ ได้แก่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นเศรษฐกิจหลักที่ทำรายได้ให้กับคนในประเทศ โดยภาพรวมทางเศรษฐกิจ อ้างอิงจากวิกิพีเดียสารานุกรมเสรี เมื่อปี พ.ศ.2550 พบว่า ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ของประเทศเท่ากับ 245,659 พันล้านบาท และข้อมูลจากการรายงานประจำปี 2549 กรมส่งเสริมการส่งออกชี้แจงว่า การค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยในปี 2549 มีมูลค่า 236,574 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีการส่งออกมูลค่า 129,744.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ส่วนด้านการท่องเที่ยว การบริการและโรงแรม ในปี พ.ศ.2547 มีนักท่องเที่ยวรวม 11.65 ล้านคน ร้อยละ 56.52 มาจากเอเชียตะวันออกและอาเซี่ยน (โดนเฉพาะมาเลเซียคิดเป็น ร้อยละ 11.97 ญี่ปุ่น ร้อยละ 10.33) ร้อยละ 24.29 มาจากยุโรป ร้อยละ 7.02 มาจากทวีปอเมริกาเหนือและใต้รวมกัน สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พัทยา ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับสถานการณ์การท่องเที่ยวใน จ.ราชบุรี ในภาพรวมมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 9.28 แบ่งเป็นผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยมีอัตราการเพิ่มขั้นร้อยละ 16.61 ส่วนชาวต่างชาติลดลงร้อยละ 31.08 นักท่องเที่ยวชาวไทยมีสัดส่วนร้อยละ 90 ซึ่งปัจจัยสนับสนุนมาจากการที่แหล่งท่องเที่ยวมีระยะทางไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มีความสะดวกสบายในการเดินทาง ทำให้นักทัศนาจรมีสัดส่วนมากขึ้น ร้อยละ 65.82

ทั้งนี้แหล่งท่องเที่ยวหลักที่ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว อาทิ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติราชบุรี วัดเขาวัง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ อ.สวนผึ้ง รวมทั้งการจัดเทศกาลองุ่นหวานและของดีดำเนินสะดวก จึงยังคงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่มากขึ้น ส่วนใหญ่จะนิยมเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว รองลงมาเป็นรถโดยสารประจำทาง และรถไฟตามลำดับ
  • นักท่องเที่ยวนิยมพักโรงแรม ร้อยละ 71
  • รองลงมาเป็นพักบ้านญาติ/บ้านเพื่อน ร้อยละ 28.76
  • การเดินทางแต่ละครั้ง มีระยะเวลาพำนักเฉลี่ย 1.99 วัน
  • นักท่องเที่ยวมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันประมาณ 884.81 บาท ลดลงร้อยละ 0.15
  • มีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 705.41 ล้านบาท
  • นักทัศนาจรมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันประมาณ 648.01 บาท ลดลงร้อยละ 2.64
  • รายได้หมุนเวียนในแหล่งท่องเที่ยวประมาณ 501.43 ล้านบาท

เมื่อรวมรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการท่องเที่ยวภายในประเทศ รวมทั้งสิ้น 1,206.84 ล้านบาท และผู้เยี่ยมเยือนมีค่าใช้จ่ายระหว่างอยู่จังหวัดราชบุรีประมาณ 768.18 บาท ลดลง ร้อยละ 1.42 โดยจะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุด รองลงมาเป็นค่าซื้อสินค้าและของที่ระลึก และค่าพาหนะเดินทางในจังหวัด

สำหรับสถานการณ์พักแรมในจังหวัดราชบุรี มีสถานพักแรมจำนวนทั้งสิ้น 78 แห่ง มีอัตราการเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 20.0 มีจำนวนห้องพักทั้งสิ้น 2,259 ห้อง มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยร้อยละ 28.26 และระยะเวลาพำนักเฉลี่ย 1.29 วัน

ที่มา : เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดราชบุรี (กรอ.จังหวัดราชบุรี) ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันศุกร์ที่ 5 ก.พ.2553 ณ ห้องประชุมหลวงยกกระบัตร ศาลากลางจังหวัดราชบุรี










อ่านต่อ >>

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความเคลื่อนไหวการลงทุนอุตสาหกรรม จ.ราชบุรี ปี 2553

ข้อมูลปัจจุบัน
ปัจจุบัน จ.ราชบุรี มีโรงงานจำนวนทั้งสิ้น 1,363 โรงงาน เงินลงทุน 89,362 ล้านบาท คนงาน 55,544 คน อำเภอที่ตั้งโรงงานมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ

  • อ.บ้านโป่ง 472 โรงงาน เงินทุน 22,750 ล้านบาท คนงาน 27,447 คน
  • อ.เมือง 343 โรงงาน เงินทุน 52,142 ล้านบาท คนงาน 9,592 คน
  • อ.โพธาราม 240 โรงงาน เงินทุน 6,192 ล้านบาท คนงาน 12,229 คน

มูลค่าการผลิตและอุตสาหกรรมที่สำคัญ
มูลค่าการผลิตโดยรวมของจังหวัด หรือ GPP ของจังหวัดราชบุรีในปี 2551 มีมูลค่า 108,361 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าผลิตด้านอุตสาหกรรม 31,503 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.07 ของมูลค่าการผลิตโดยรวมของจังหวัด

ประเภทอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าการผลิตที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ อุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมเซรามิค อุตสาหกรรมน้ำตาล และอุตสาหกรรมขนส่ง
การลงทุนปีที่ผ่านมา
ปี 2551
  • ตั้งใหม่ จำนวนโรงงาน 112 ราย เงินทุน 1,149 ล้านบาท คนงาน 1,937 คน
  • ขยาย จำนวนโรงงาน 10 ราย เงินทุน 94 ล้านบาท คนงาน 170 คน
  • เลิกกิจการ จำนวนโรงงาน 48 ราย เงินทุน 317 ล้านบาท คนงาน 1,032 คน

ปี 2552

  • ตั้งใหม่ จำนวนโรงงาน 116 ราย เงินทุน 911 ล้านบาท คนงาน 1,460 คน
  • ขยาย จำนวนโรงงาน 5 ราย เงินทุน 100 ล้านบาท คนงาน 77 คน
  • เลิกกิจการ จำนวนโรงงาน 57 ราย เงินทุน 555 ล้านบาท คนงาน 1,269 คน

สภาพการลงทุนและแนวโน้ม
จากสภาพวิกฤตด้านการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมประสบปัญหากันแทบทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย ส่งผลกระทบให้เห็น ตั้งแต่ปี 2551-2552 มีการเลิกจ้าง ชะลอการจ้างงานในธุรกิจ ทั้งด้านการบริการและภาคการผลิตอุตสาหกรรม รวมทั้งปิดกิจการไปบางส่วน

ผลกระทบในจังหวัดราชบุรี ตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน มีสถานประกอบการโรงงานทั้งเล็กและใหญ่ ที่หยุดหรือเลิกกิจการไปจำนวน 105 ราย และมีการเลิกจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่า 2,300 ราย การลงทุนเมื่อเทียบกับปี 2551 มีการตั้งโรงงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

แนวโน้มการลงทุนในจังหวัดราชบุรี น่าจะชะลอตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ดำเนินการอยู่ขณะนี้ ว่าจะส่งผลความเชื่อมั่นและสำเร็จแค่ไหน

ที่มา : เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการร่วมถาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกกิจจังหวัดราชบุรี (กรอ.จังหวัดราชบุรี) ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันศุกร์ที่ 5 ก.พ.2553 ณ ห้องประชุมหลวงยกกระบัตร ศาลากลางจังหวัดราชบุรี

อ่านต่อ >>

ผลผลิตด้านการประมงที่สำคัญของ จ.ราชบุรี


จังหวัดราชบุรี เป็นพื้นที่ที่ไม่ติดทะเล การทำประมงภายในจังหวัด เป็นการทำการประมงน้ำจืด โดยอาศัยการจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ มีแม่น้ำแม่กลองเป็นแหล่งการทำ การประมงส่วนใหญ่มีลำคลองธรรมชาติอยู่กระจายตามอำเภอต่างๆ แหล่งน้ำที่สำคัญมีแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำภาชี และคลอง 2 คลอง คือ คลองแควอ้อม และคลองดำเนินสะดวก

ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีแหล่งผลิตอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลองในเขตอำเภอบางแพ, ดำเนินสะดวก และอำเภอเมือง มีภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่เหมาะสม สภาพแหล่งน้ำสมบูรณ์ และการคมนาคมสะดวก ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม การเพาะเลี้ยงกุ้งขาว การเลี้ยงปลาน้ำจืด
การประมงของจังหวัดมีแต่การประมงน้ำจืด โดยจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และการขุดบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา จังหวัดเคยเป็นที่อุดมสมบูรณ์ได้ด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด และเป็นการจับสัตว์น้ำในเชิงพาณิชย์ แต่ในปัจจุบันกลายเป็นการจับเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผลกระทบจากการพัฒนาประเทศที่ส่งผลให้ภาวะแวดล้อมเสื่อมเสีย ทำให้จำนวนสัตว์น้ำลดลง
การทำประมงน้ำจืดจะพบในทุกอำเภอของจังหวัดและพบมากใน อ.บางแพ โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามใน อ.บางแพ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากไม่มีปัญหาด้านราคา กอปรกับมีการนำเทคโนโลยีจากการเลี้ยงกุ้งทะเลมาปรับใช้ได้ดี สามารถส่งผลผลิตให้อัตราผลผลิตต่อพื้นที่สูงขึ้น
จำนวนผู้เลี้ยงสัตว์น้ำของจังหวัดราชบุรี ปี 2552
  1. ปลาสวยงาม จำนวนเกษตรกรที่เลี้ยง 549 ราย พื้นที่เลี้ยง 1,734.24 ไร่
  2. กุ้งก้ามกราม จำนวนเกษตรกรที่เลี้ยง 944 ราย พื้นที่เลี้ยง 17,505.75 ไร่
  3. กุ้งขาว จำนวนเกษตรกรที่เลี้ยง 187 ราย พื้นที่เลี้ยง 2,550 ไร่
  4. ปลาน้ำจืด จำนวนเกษตรกรที่เลี้ยง 2,504 ราย พื้นที่เลี้ยง 15,343.87 ไร่
  5. การเพาะพันธุ์/อนุบาลกุ้งทะเล (กุ้งขาว) จำนวนเกษตรกรที่เลี่ยง 3 ราย พื้นที่เลี้ยง 27 ไร่
  6. การเพาะพันธุ์/อนุบาลสัตว์น้ำจืด (ปลา+กุ้งก้ามกราม) จำนวนเกษตรกรที่เลี้ยง 9 ราย พื้นที่เลี้ยง 78.37 ไร่

ที่มา : เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดราชบุรี (กรอ.จังหวัดราชบุรี) ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันศุกร์ที่ 5 ก.พ.2553 ณ ห้องประชุมหลวงยกกระบัตร ศาลากลางจังหวัดราชบุรี

อ่านต่อ >>

โครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดราชบุรี ปี 2551

โครงสร้างเศรษฐกิจ จ.ราชบุรีสัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์ จ.ราชบุรี ณ ราคาประจำปี 2551
(ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ/ปรับปรุงข้อมูล ณ 29 ม.ค.2553)

  • สาขาไฟฟ้า ก๊าซและการประปา ร้อยละ 26.44
  • สาขาอุตสาหกรรม ร้อยละ 23.23
  • สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 16.10
  • สาขาค้าส่ง-ค้าปลีก ร้อยละ 10.62
  • สาขาบริหารราชการแผ่นดิน ร้อยละ 4.37
  • สาขาการศึกษา ร้อยละ 4.15
  • สาขาอื่นๆ ร้อยละ 15.09
ภาวะเศรษฐกิจ จ.ราชบุรี ขึ้นอยู่กับ สาขาการไฟฟ้าก๊าซและประปา, สาขาอุตสาหกรรม,สาขาเกษตรกรรม และสาขาค้าส่ง-ค้าปลีกเป็นหลัก โดยสัดส่วนตามโครงสร้างผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) ณ ราคาประจำปี คือ ร้อยละ 26.44, 23.23, 16.10 และร้อยละ 10.62 ตามลำดับ
ในปี พ.ศ.2551 จ.ราชบุรี มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดทั้งสิ้น 112,981 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 103,644 ล้านบาท ในปี 2550 เท่ากับ 9,337 ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวของจังหวัดราชบุรี ปี 2551 เท่ากับ 136,168 บาทต่อคนต่อปี มีจำนวนประชากรโดยประมาณ 830,000 คน
ภาคเกษตร
ในปี 2551 สร้างมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้น จำนวน 18,536 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 15,986 ล้านบาท ในปี 2550 เท่ากับ 2550 ล้านบาท เนื่องจากผลผลิตและราคาพืชผลที่สำคัญยังอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับปี 2550 ทำให้รายได้ของเกษตรกรยังขยายตัวในเกณฑ์ดี
ภาคนอกเกษตร
ในปี 2551 สร้างมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้น จำนวน 94,445 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 87,657 ล้านบาท ในปี 2550 เท่ากับ 6,788 ล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของ สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา สาขาการค้าส่ง-ค้าปลีก และสาขาการก่อสร้างเป็นสำคัญ ขณะที่อุตสาหกรรมลดลงจากปีก่อน
สาขาการอุตสาหกรรม
ในปี 2551 สร้างมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้น จำนวน 26,251 ล้านบาท ลดลงจาก 28,778 ล้านบาท ในปี 2550 เท่ากับ 2,527 ล้านบาท จากการลดลงของอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศคู่ค้าชะลอตัว ประกอบการแข็งค่าของเงินบาททำให้การส่งออกลดลง ด้านปัจจัยภายในประเทศ ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมือง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน ทำให้มีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
โครงสร้างการผลิตสาขาอุตสาหกรรม
โดยเฉลี่ยการผลิตสาขาอุตสาหกรรมของ จ.ราชบุรี แบ่งการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 42.19 รองลงมาเป็นการผลิตสิ่งทอสิ่งถักร้อยละ 15.49 การผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะร้อยละ 9.87 บาท การผลิตเครื่องเรือนร้อยละ 5.67 การผลิตเครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้าร้อยละ 5.22 และที่เหลือเป็นการผลิตอื่นๆ ร้อยละ 21.56 ดังสรุปได้ดังนี้
  • การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 42.19
  • การผลิตสิ่งทอสิ่งถัก ร้อยละ 15.49
  • การผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ ร้อยละ 9.87
  • การผลิตเครื่องเรือน ร้อยละ 5.67
  • การผลิตเครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ร้อยละ 5.22
  • การผลิตอื่นๆ ร้อยละ 21.56

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดราชบุรี (GPP) ณ ราคาประจำปี 2551p

ภาคเกษตร รวม 18,536 ล้านบาท (+) (ปี 2550=15,986 ล้านบาท) แยกเป็น

  • สาขาการเกษตรกรรม 18,194 ล้านบาท (+) (ปี 2550=15,680 ล้านบาท)
  • สาขาการประมง 342 ล้านบาท (+) (ปี 2550=306 ล้านบาท)

ภาคนอกเกษตร รวม 94,445 ล้านบาท (+) (ปี 2550=87,657 ล้านบาท) แยกเป็น

  • สาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน 2,011 ล้านบาท (+) ( ปี 2550=1,866 ล้านบาท)
  • สาขาการอุตสาหกรรม 26,251 ล้านบาท (-) (ปี 2550=28,778 ล้านบาท)
  • สาขาไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา 29,871 ล้านบาท (+) (ปี 2550=22,849 ล้านบาท)
  • สาขาการก่อสร้าง 2,182 ล้านบาท (+) (ปี 2550=1,902 ล้านบาท)
  • สาขาการขายส่ง การขายปลีก 12,001 ล้านบาท (+) (ปี 2550=10,787 ล้านบาท)
  • สาขาโรงแรม และภัตตาคาร 463 ล้านบาท (+) (ปี 2550=441 ล้านบาท)
  • สาขาการขนส่ง 3,430 ล้านบาท (-) (ปี 2550=3,453 ล้านบาท)
  • สาขาตัวกลางทางการเงิน 2,431 ล้านบาท (+) (ปี 2550=2,208 ล้านบาท)
  • สาขาบริการด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1,856 ล้านบาท (-) (ปี 2550=1,900 ล้านบาท)
  • สาขาการบริหารราชการแผ่นดิน 4,934 ล้านบาท (+) (ปี 2550=4,785 ล้านบาท)
  • สาขาการศึกษา 4,690 ล้านบาท (+) (ปี 2550=4,481 ล้านบาท)
  • สาขาการบริการสุขภาพ 3,187 ล้านบาท (+) (ปี 2550=3,068 ล้านบาท)
  • สาขาบริการชุมชน 1,065 ล้านบาท (-) (ปี 2550=1,071 ล้านบาท)
  • สาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 73 ล้านบาท (+) (ปี 2550=70 ล้านบาท)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดราชบุรี(GPP) 112,981 ล้านบาท (+) (ปี 2550=103,644 ล้านบาท)
รายได้ต่อตัว 136,168 บาท/คน/ปี (+) (ปี 2550=125,557 บาท) ประชากร 830,000 คน

ที่มา : เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดราชบุรี (กรอ.จังหวัดราชบุรี) ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันศุกร์ที่ 5 ก.พ.2553 ณ ห้องประชุมหลวงยกกระบัตร ศาลากลาง จ.ราชบุรี
อ่านต่อ >>

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

แผนพัฒนา จ.ราชบุรี ปี 2553-2556

วิสัยทัศน์ : เป็นผู้นำเกษตรปลอดภัย มุ่งให้เป็นเมืองน่าอยู่ และใช้ทุนทางปัญญาสร้างรายได้

พันธกิจ

  1. ดำเนินการยกระดับคุณภาพ และมาตรฐานสินค้าและบริการให้เป็นสินค้ามีคุณภาพ ปลอดภัย และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด
  2. พัฒนาครอบครัวและชุมชนให้เข้มแข็ง สร้างวินัยทางสังคม ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเป็นเมืองน่าอยู่

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัย เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวและผลผลิตเชิงสร้างสรรค์
เป้าประสงค์

  1. สินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูปได้รับการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย
  2. สินค้าและบริการสำคัญของจังหวัด ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตเพิ่มขึ้น
  3. กลุ่มสินค้าที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ได้รับการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น
  4. เพิ่มคุณค่า/มูลค่าภาคการผลิตที่สำคัญของจังหวัด

กลยุทธ์

  1. พัฒนาทักษะเพื่อการผลิตที่ได้มาตรฐานคุณภาพ
  2. ส่งเสริมการลดต้นทุน และพัฒนาพลังงานทดแทน
  3. ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
  4. พัฒนาและขยายตลาด
  5. พัฒนาการบริการและการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ

โครงการและงบประมาณประจำปี 2554 ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1

  1. ส่งเสริมการผลิตพืชอาหารปลอดภัย(GAP) จำนวน 2,842,000 บาท โดย เกษตร จ.ราชบุรี
  2. พัฒนาระบบการผลิตและรับรองฟาร์มสัตว์น้ำ (GAP) จำนวน 1,000,000 บาท โดย ประมง จ.ราชบุรี
  3. ตรวจสอบสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ปลอดภัย จำนวน 676,000 บาท โดย ปศุสัตว์ จ.ราชบุรี
  4. อาหารปลอดภัย จ.ราชบุรี จำนวน 100,000 บาท โดย.สาธารณสุข จ.ราชบุรี
  5. อาหารสะอาด ตลาดสดน่าซื้อ จ.ราชบุรี จำนวน 100,000 บาท โดย สาธารณสุข จ.ราชบุรี
  6. พัฒนาศักยภาพการผลิตน้ำนมในฟาร์มโคนมมาตรฐาน จำนวน 1,180,000 บาท โดย ปศุสัตว์ จ.ราชบุรี
  7. ผลิตเชื้อราไตรโครเดอร์ม่า จำนวน 320,000 บาท โดย อ.ดำเนินสะดวก
  8. RATCHABURI GOATS CENTER จำนวน 382,000 บาท โดย ปศุสัตว์ จ.ราชบุรี
  9. พัฒนาส่งเสริมเพิ่มผลผลิตการเกษตรในเขตชลประทาน จ.ราชบุรี (ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด) จำนวน 4,100,000 บาท โดย เกษตรและสหกรณ์ จ.ราชบุรี
  10. ส่งเสริมระบบน้ำหยดเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย จำนวน 1,000,000 บาท โดย เกษตร จ.ราชบุรี
  11. ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์อ้อย จำนวน 1,000,000 บาท โดย เกษตร จ.ราชบุรี
  12. ส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี จำนวน 200,000 บาท โดย ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี
  13. เพิ่มศักยภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพข้าว จำนวน 4,000,000 บาท โดย เกษตร จ.ราชบุรี
  14. ติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าวและอ้อย จ.ราชบุรี จำนวน 200,000 บาท โดย เศรษฐกิจการเกษตร เขต 10 จ.ราชบุรี
  15. จัดทำแผนพลังงานชุมชน จำนวน 600,000 บาท โดย พลังงาน จ.ราชบุรี
  16. ส่งเสริมและอนุรักษ์พืชสมุนไพรในกลุ่มยุวเกษตรกร จำนวน 500,000 บาท โดย เกษตร จ.ราชบุรี
  17. ศูนย์เรียนรู้และสาธิตการผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์(โค-กระบือ) ในเกษตรกรรายย่อย จำนวน 585,000 บาท โดย ปศุศัตว์ จ.ราชบุรี
  18. เพิ่มทักษะการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด จำนวน 100,000 บาท โดย อ.ดำเนินสะดวก
  19. ระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำบ้านหนองปากชัฎ ต.แก้มอ้น อ.จอมบึง จำนวน 6,500,000 บาท โดย โครงการชลประทานราชบุรี
  20. ระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำบ้านบึงเหนือ ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จำนวน 6,500,000 บาท โดย โครงการชลประทานราชบุรี
  21. ระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำบ้านร่องเจริญ ต.บ้านคา อ.บ้านคา จำนวน 7,000,000 บาท โดย โครงการชลประทานราชบุรี
  22. สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านดอนทราย ต.ดอนทราย อ.ปากท่อ จำนวน 8,000,000 บาท โดย โครงการชลประทานราชบุรี
  23. สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านทุ่งหลวง ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ จำนวน 10,000,000 บาท โดย โครงการชลประทานราชบุรี
  24. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และข้อมูลเชิงลึกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด จำนวน 276,000 บาท โดย เกษตรและสหกรณ์ จ.ราชบุรี
  25. ฝึกอบรมพัฒนางานศิลปาชีพจักสานละเอียดเป็นสินค้า OTOP จำนวน 50,000 บาท โดย กรมพัฒนาที่ 1
  26. พัฒนาคุณภาพ/ส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP และวิสาหกิจชุมชน จำนวน 2,000,000 บาท โดย พัฒนาชุมชน จ.ราชบุรี และ เกษตร จ.ราชบุรี
  27. พัฒนาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงรุก จำนวน 2,500,000 บาท โดย ท่องเที่ยวและกีฬา จ.ราชบุรี
  28. ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกเก้าชั้น จำนวน 2,000,000 บาท โดย อ.สวนผึ้ง
  29. ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกห้วยสวนพลู จำนวน 2,000,000 บาท โดย อ.สวนผึ้ง
  30. ถนนสายวัฒนธรรม จำนวน 1,000,000 บาท โดย วัฒนธรรม จ.ราชบุรี
  31. แปดเสน่ห์ราชบุรี แปดวิถีไทย สานใยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 1,000,000 บาท โดย วัฒนธรรม จ.ราชบุรี
  32. พัฒนาการรับรองมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวและการรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย จำนวน 500,000 บาท โดย มรภ.หมู่บ้านจอมบึง
  33. โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิต การประกอบตัวถังรถบัส เพื่อพัฒนาสู่มาตรฐานสากล จำนวน 1,200,000 บาท โดย อุตสาหกรรม จ.ราชบุรี
  34. โครงการศูนย์ส่งเสริมการผลิตกล้วยไม้ จำนวน 4,468,000 บาท โดย เกษตร จ.ราชบุรี
  35. โครงการฟาร์มตัวอย่าง จำนวน 150,000 บาท โดย ประมง จ.ราชบุรี
  36. กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรในโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ จำนวน 168,000 บาท โดย ปศุสัตว์ จ.ราชบุรี
  37. ศูนย์เรียนรู้ด้านการประมงบ้านหนองตาดั้ง เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งผลิตอาหาร(Food Bank) ตามแนวชายแดนในพระราชดำริ อ.สวนผึ้ง จำนวน 570,000 บาท โดย ประมง จ.ราชบุรี
  38. โครงการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านหนองสะเดาล่าง และหมู่ที่ 6 บ้านหนองสะเดาบน อ.เมืองราชบุรี จำนวน 4,000,000 บาท โดย อ.เมือง
  39. โครงการก่อสร้างระบบประปาบาดาลขนาดกลาง หมู่ที่ 1 ต.ดอนแร่ อ.เมืองราชบุรี จำนวน 2,000,000 บาท โดย อ.เมือง
  40. โครงการก่อสร้างระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่ หมู่ที่ 1-9 ต.ห้วยไผ่ อ.เมืองราชบุรี จำนวน 6,000,000 บาท โดย อ.เมือง
  41. โครงการก่อสร้างถนนแอสฟัลท์ติดคอนกรีต บริเวณหมู่ที่ 6 ต.จอมประทัด อ.วัดเพลง จำนวน 1,000,000 บาท โดย อ.วัดเพลง
  42. โครงการบูรณะถนนลาดยาง หมู่ที่ 4 ต.ดอนตะโก อ.เมือง จำนวน 725,000 บาท โดย อ.เมือง
  43. โครงการก่อสร้างถนนแอสฟัลท์ติดคอนกรีต หมู่ที่ 11 ต.ท่าเคย อ.สวนผึ้ง จำนวน 1,000,000 บาท โดย อ.สวนผึ้ง
  44. โครงการก่อสร้างถนนแอสฟัลท์ติดคอนกรีต บ้านห้วยหมู หมู่ที่ 11 ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จำนวน 1,000,000 บาท โดย อ.เมือง
  45. โครงการก่อสร้างถนนแอสฟัลท์ติดคอนกรีต หมู่ที่ 6 ต.วังมะนาว อ.ปากท่อ จำนวน 1,000,000 บาท โดย อ.ปากท่อ
  46. โครงการก่อสร้างถนนแอสฟัลท์ติดคอนกรีต เทศบาลซอย 14 หมู่ที่ 3 ต.เขางู จำนวน 1,000,000 บาท โดย อ.เมือง
  47. โครงการปรับปรุงผิวจราจร ถ.เพชรเกษม ซอยเมโทร (ชุมชนท่าแจ่) เทศบาลเมืองราชบุรี อ.เมือง จำนวน 475,000 บาท โดย อ.เมือง
  48. โครงการก่อสร้างปรับปรุงผิวจราจร ถ.เพชรเกษม ซอย 4 เทศบาลเมืองราชบุรี อ.เมืองราชบุรี จำนวน 116,000 บาท โดย อ.เมือง
  49. โครงการปรับปรุงผิวจราจรซอยสุริยวงศ์ ซอย 6 เทศบาลเมืองราชบุรี อ.เมืองราชบุรี จำนวน 683,000 บาท โดย อ.เมือง
  50. โครงการปรับปรุงผิวจราจรซอยแยกจาก ถ.มนตรีสุริยวงศ์ ซอย 3 เทศบาลเมืองราชบุรี อ.เมือง จำนวน 150,000 บาท โดย อ.เมือง
  51. โครงการปรับปรุงผิวจราจรชุมชนสายฝนร่วมใจ ซอย 12 เทศบาลเมืองราชบุรี อ.เมืองราชบุรี จำนวน 450,000 บาท โดย อ.เมือง
  52. โครงการปรับปรุงผิวจราจร ตรงข้ามซอยศิริชัย จำนวน 195,000 บาท โดย อ.เมือง
  53. โครงการก่อสร้าง (OVER LAY) ผิวจราจรถนนเขางู (หน้าวัดเขาเหลือ) เทศบาลเมืองราชบุรี อ.เมือง จำนวน 1,940,000 บาท โดย อ.เมือง
  54. โครงการก่อสร้างถนน คสล.พร้อมวางท่อระบายน้ำ คสล. กิจวัฒนา ตอน 2 เทศบาล ต.หลักเมือง อ.เมืองราชบุรี จำนวน 1,306,000 บาท โดย อ.เมือง
  55. โครงการเสริมผิวลาดยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต สานท่าราบ-บ้านซ่อง อ.เมือง ราชบุรี จำนวน 1,980,000 บาท โดย อ.เมือง
  56. โครงการก่อสร้างถนนลาดยางซอยสำนักสงฆ์เริ่มชัย ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จำนวน 2,100,000 บาท โดย อ.สวนผึ้ง
  57. โครงการก่อสร้างท่อลอดเหลี่ยม ค.ส.ล.ชนิด 2 ช่องพร้อมประตูเปิด-ปิด ต.เจดีย์หัก จำนวน 1,683,200 บาท โดย อ.เมือง
  58. ก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์ หมู่ 11 บ้านโพธิ์ ต.คูบัว อ.เมือง จำนวน 1,995,000 บาท โดย อ.เมือง
  59. โครงการขยายถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต พร้อมฟุตบาททางเท้า(สายแม้นรำลึก) หมู่ที่ 3 จำนวน 3,490,000 บาท โดย อ.เมือง
  60. โครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน กิจกรรม จัดทำบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 115,000 บาท โดย เกษตร อ.เมืองราชบุรี
  61. โครงการติดตั้งระบบโคมไฟฟ้าทางสาธารณะ ถนนสายลูกแกห้วยกระบอก ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จำนวน 1,999,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  62. โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณคลองลำห้วยแร้ง ถึงวัดห้วยเจริญผล หมู่ที่ 4 ต.กรับใหญ่ จำนวน 5,000,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  63. โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บึงกระจับ หมู่ที่ 8 ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จำนวน 3,000,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  64. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 700 เมตร หมู่ที่ 8 ต.สวนกล้วย อ.บ้านโป่ง จำนวน 1,999,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  65. โครงการก่อสร้างถนนลาดยางชนิดแอสฟัลท์ติกคอนกรีต สายหน้าวัดหนองประทูน หมู่ที่ 11 ต.กรับใหญ่ จำนวน 1,999,800 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  66. โครงการก่อสร้างถนนลาดยางชนิดแอสฟัลท์ติกคอนกรีต บ้านสวนกล้วย หมู่ที่ 10,11 บริเวณถนนสายเลียบริมคลองชลประทาน ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง จำนวน 1,999,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  67. โครงการก่อสร้างถนนลาดยางชนิดแอสฟัลท์ติกคอนกรีต สายศาลเจ้าพ่อเกตุ คลองชลประทาน หมู่ที่ 8 ต.บ้านม่วง จำนวน 1,998,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  68. โครงการก่อสร้างถนนลาดยางชนิดแอสฟัลท์ติกคอนกรีต สานคันคลองชลประทาน 1 ขวา 12 ซ้าย ต.บ้านสิงห์ จำนวน 1,999,900 บาท โดย อ.โพธาราม
  69. โครงการก่อสร้างถนนลาดยางชนิดแอสฟัลท์ติกคอนกรีต สายคลอง 8 หมู่ที่ 4 ต.บางโตนด เชื่อม ต.ธรรมเสน อ.โพธาราม จำนวน 1,999,000 บาท โดย อ.โพธาราม
  70. โครงการวางท่อระบายน้ำภายในหมู่บ้านตั้งแต่ข้างบ้านผู้ช่วยสายพิณ คำดีไปจนถึงบ้านนางจงดี ทาวงศ์ หมู่ที่ 8 ต.ท่าผา จำนวน 1,070,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  71. โครงการก่อสร้างถนนลาดยางชนิดแอสฟัลท์ติกคอนกรีต สายหลังป่าช้าวัดยางหัก หมู่ 13 ต.ท่าผา จำนวน 2,000,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  72. โครงการก่อสร้างถนนลาดยางชนิดแอสฟัลท์ติกคอนกรีต เลียบคลองท่าผา-บางแก้ว จากหมู่ 20 ถึง หมู่ 15 ต.ท่าผา จำนวน 1,760,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  73. โครงการวางท่อระบายน้ำจากบริเวณที่กลับรถข้างร้านรถจักรยานยนต์(โล้วเฮงหมง) ไปถึงที่บริเวณหน้าร้านขายรถจักรยานยนต์ของเตชะอัมพร(ฝั่งโรงเรียนธีรศาสตร์) หมู่ 16 จำนวน 1,880,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  74. โครงการวางท่อระบายน้ำเริ่มจากจุดกลับรถตรงข้ามร้ายขายรถจักรยานยนต์ (โล้วเฮงหมง) ไปถึงถนนลาดยางคลองยายสา หมู่ที่ 16 ต.ท่าผา จำนวน 1,750,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  75. โครงการก่อสร้างถนนลาดยางชนิดแอสฟัลท์ติกคอนกรีต จากถนนแสงชูโต บ้านจ่าเหวกถึงทางเข้าโรงนุ่น หมู่ที่ 4 ต.ปากแรด จำนวน 1,500,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  76. โครงการก่อสร้างถนนลาดยางชนิดแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ข้างบ้านนางเขียน ถึง บ่อขยะ หมู่ที่ 8 ต.ท่าผา จำนวน 2,000,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  77. โครงการปรับปรุงระบบประปาผิวดิน หมู่ 7 ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก จำนวน 1,990,000 บาท โดย อ.ดำเนินสะดวก
  78. โครงการก่อสร้างซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก จำนวน 1,906,000 บาท โดย อ.ดำเนินสะดวก
  79. โครงการงานเพลิดเพลินดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก จำนวน 4,000,000 บาท โดย อ.ดำเนินสะดวก
  80. โครงการงานสืบสานประเพณีและของดีบางแพ จำนวน 4,000,000 บาท โดย อ.บางแพ
  81. โครงการพัฒนาฟื้นฟูเส้นทางคมนาคมเพื่อเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในพื้นที่ อ.โพธาราม สายหนองกวาง-หนองครึม,สายบานหนองมะค่า บ้านพุล้ง หมู่ 8 ต.เขาชะงุ้ม และสายบ้านทุ่งมะสัง หมู่ที่ 4 ต.เขาชะงุ้ม จำนวน 5,970,000 บาท โดย ทางหลวงชนบท จ.ราชบุรี
  82. โครงการพัฒนาฟื้นฟูเส้นทางคมนาคมเพื่อเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในพื้นที่ อ.จอมบึง สายบ้านโป่งสิงขร หมู่ 8 ต.ด่านทับตะโก สายบ้านท่าครูเทียน หมู่ 10 ต.ด่านทับตะโก และสายบ้านซอนต้า หมู่ 4 ต.รางบัว จำนวน 5,970,000 บาท โดย ทางหลวงชนบท จ.ราชบุรี

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาสังคมคุณธรรมและชุมชนเข้มแข็ง
เป้าประสงค์

  1. ลดปัญหายาเสพติดและสถิติการเกิดอาชญากรรม
  2. ประชาชนมีวินัยทางสังคมและสมานฉันท์
  3. เด็ก เยาวชน ครอบครัว ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้
  4. ประชาชนในพื้นที่ชายแดนมีคุณภาพชีวิตผ่านเกณฑ์ จปฐ.

กลยุทธ์

  1. ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
  2. ส่งเสริมวินัยสังคมและการบังคับใช้กฏหมาย
  3. พัฒนา เด็ก เยาวชน ครอบครัว ชุมชน ให้เข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  4. ส่งเสริมกิจกรรมสุขภาพ และศิลปวัฒนธรรมให้แก่ครอบครัวและชุมชน
  5. พัฒนาศักยภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงาน
  6. ส่งเสริมความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน

โครงการและงบประมาณประจำปี 2554 ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2

  1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนให้มีการเรียนรู้อย่างบูรณาการในทุกระดับการศึกษาและเชื่อมโยงการพัฒนาของชุมชน จำนวน 622,000 บาท โดย จัดหางาน จ.ราชบุรี
  2. กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน จำนวน 1,000,000 บาท โดย แรงงาน จ.ราชบุรี
  3. กิจกรรมส่งเสริมการทอผ้าพื้นเมือง(กะเหรี่ยง) จำนวน 90,000 บาท โดย โรงเรียนกลุ่มนักข่าหญิง 2 (บ้านบ่อหวี)
  4. การฝึกอบรมอาชีพให้แก่นักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 40,000 บาท โดย วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม
  5. ปรับปรุงกิจกรรมจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP และจัดตั้งหมู่บ้านท่องเที่ยว(ปลาสวยงาม) จำนวน 3,500,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง
  6. กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จ.ราชบุรี สู่จังหวัดพอเพียง จำนวน 1,560,000 บาท โดย พัฒนาชุมชน จ.ราชบุรี
  7. กิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 300,000 บาท โดย อ.ดำเนินสะดวก
  8. กิจกรรมภูมิปัญญาแห่งแผ่นดินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 300,000 บาท โดย อ.วัดเพลง
  9. กิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 280,000 บาท โดย พัฒนาชุมชน อ.วัดเพลง
  10. กิจกรรมแม่กลองเพื่อชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง(ร่วมกิจกรรมเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง 2 ฝั่งแม่น้ำแม่กลอง) จำนวน 300,000 บาท โดย อ.เมืองราชบุรี
  11. กิจกรรมพัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 1,570,000 บาท โดย เกษตรและสหกรณ์ จ.ราชบุรี
  12. กิจกรรมสวนไม้มงคลพระราชทานและสวนไม้วรรณคดีและสวนไม้สมุนไพร จำนวน 2,403,000 บาท โดย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ราชบุรี
  13. พัฒนาระบบน้ำสนับสนุนพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี จำนวน 12,000,000 บาท โดย โครงการชลประทานราชบุรี
  14. พัฒนาชุมชนเกษตรกรรมในพื้นที่อุทยานแห่งความจงรักภักดี จำนวน 6,000,000 บาท โดย เกษตร จ.ราชบุรี
  15. ปรับเสริมความแข็งแรงหน้าผาเขางู จำนวน 5,500,000 บาท โดย โยธาธิการและผังเมือง จ.ราชบุรี
  16. กิจกรรมฟันเทียมพระราชทานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จ.ราชบุรี จำนวน 2,550,000 บาท โดย สาธารณสุข จ.ราชบุรี
  17. กิจกรรมการศึกษารูปแบบการดูแลผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว โดยจัดการความรู้จากผู้พิการ ผู้ดูแลและผู้นำชุมชน จำนวน 500,000 บาท โดย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
  18. กิจกรรมชุมชนพอเพียง ชุมชนสุขภาพดี ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 3,467,000 บาท โดย โรงพยาบาลราชบุรี
  19. กิจกรรมหมู่บ้านน่าอยู่และเข้มแข็งอย่างยั่งยืน จำนวน 500,000 บาท โดย พัฒนาชุมชน จ.ราชบุรี
  20. กิจกรรมส่งเสริมอาสาสมัครดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 80,000 บาท โดย สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา จ.ราชบุรี
  21. กิจกรรมสายใยรักแห่งครอบครัว 2,500,000 บาท โดย เกษตร จ.ราชบุรี
  22. กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนชราและคนพิการ จำนวน 873,000 บาท โดย พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ราชบุรี
  23. กิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสตามโครงการอำเภอยิ้มเคลื่อนที่ จำนวน 2,000,000 บาท โดย ปกครอง จ.ราชบุรี
  24. สนับสนุนกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด จำนวน 200,000 บาท โดย ศตส.จ.รบ.
  25. กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 175,000 บาท โดย สาธารณสุข จ.ราชบุรี
  26. กิจกรรมมหัศจรรย์เด็กไทยเด็กราชบุรี คนดี คนเก่ง จำนวน 500,000 บาท โดย เขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2
  27. กิจกรรมพัฒนายุวชนชาวนา จำนวน 70,000 บาท โดย ศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าวราชบุรี
  28. การจัดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชน จำนวน 70,000 บาท โดย อ.สวนผึ้ง
  29. กิจกรรมแหล่งข่าวประชาชนในพื้นที่ความมั่นคง จำนวน 100,000 บาท โดย หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ
  30. กิจกรรมสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนและจัดระเบียบสังคม จำนวน 150,000 บาท โดย ปกครอง จ.ราชบุรี (กลุ่มงานความมั่นคง)
  31. กิจกรรมปฏิบัติการจิตวิทยาและมวลชนสัมพันธ์ของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน จำนวน 300,000 บาท โดย ปกครอง จ.ราชบุรี(กลุ่มงานความมั่นคง)
  32. สร้างวินัยสังคมและการบังคับใช้กฏหมาย จำนวน 300,000 บาท โดย กอ.รมน.จ.ร.บ.(ส่วนกิจการมวลชน)
  33. กิจกรรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 640,000 บาท โดย ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ราชบุรี
  34. กิจกรรมแข่งขันทักษะการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทีมกู้ชีพกู้ภัยประจำตำบล จำนวน 60,000 บาท โดย ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ราชบุรี
  35. โครงการผู้ว่าพบสื่อมวลชน จำนวน 144,000 บาท โดย ประชาสัมพันธ์ จ.ราชบุรี
  36. โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติด จำนวน 120,000 บาท โดย สถิติ จ.ราชบุรี
  37. โครงการจัดตั้งคลังแว่นตาเพื่อสนับสนุนแก้ไขความปกติทางสายตาและการคัดกรองโรคตากลุ่มเสี่ยง จำนวน 4,425,950 บาท โดย สาธารณสุข จ.ราชบุรี และ โรงพยาบาลราชบุรี
  38. โครงการจัดสร้างอาคารเรียนโรงเรียนวัดห้วยหมู(อมรธรรมรัตราษฎร์บำรุง) จำนวน 2,672,000 บาท โดย โรงเรียนวัดห้วยหมู

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาความอุดมสมบูรณ์และคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่
เป้าประสงค์

  1. พื้นที่สีเขียวและการรักษาป่าต้นน้ำและป่าชุมชนเพิ่มขึ้น
  2. คุณภาพน้ำ อากาศ และขยะมูลฝอย อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  3. เป็นเมืองที่มีสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์เมืองที่เหมาะสม
  4. มีความหลากหลายและความสมดุลทางชีวภาพยิ่งขึ้น

กลยุทธ์

  1. การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยและคุณภาพน้ำ
  2. ส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและธนาคารต้นไม้
  3. การสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วม
  4. ส่งเสริมการพัฒนาสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์เมืองที่เหมาะสม
  5. ส่งเสริมความหลากหลายและความสมดุลทางชีวภาพ

โครงการและงบประมาณประจำปี 2554 ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3

  1. การลด คัดแยก และใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย จำนวน 860,000 บาท โดย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ราชบุรี
  2. ไม้ดัดปรับปรุงภูมิทัศน์ จำนวน 300,000 บาท โดย ปกครอง จ.ราชบุรี
  3. ปรับปรุงภูมิทัศน์ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 จำนวน 150,000 บาท โดย อ.จอมบึง
  4. ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ จำนวน 4,500,000 บาท โดย ประมง จ.ราชบุรี
  5. ฝายต้นน้ำลำธาร ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี จำนวน 1,750,000 บาท โดย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี
  6. Check Dam ตามแนวพระราชดำริ พื้นที่ อ.ปากท่อและบ้านคา จำนวน 1,000,000 บาท โดย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ราชบุรี
  7. ปลูกหญ้าแฝก จำนวน 1,320,000 บาท โดย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี
  8. ปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่จากการตรวจยึด จำนวน 600,000 บาท โดย ทรัพยากรป่าไม้ที่ 10
  9. จัดชุดลาดตระเวนตามพื้นที่โดยราษฎรมีส่วนร่วม จำนวน 416,000 บาท โดย หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ
  10. เจ้าหน้าที่ออกลาดตะเวนพื้นที่อุทยานฯ จำนวน 423,000 บาท โดย อุทยานฯไทยประจัน
  11. โครงการอนุรักษ์สวนป่าเขาบิน จำนวน 780,000 บาท โดย สวนป่าเขาบิน 1
  12. โครงการแก้ปัญหาควันดำ และมลพิษจากการประกอบกิจการเตาปูนขาวในเขต จ.ราชบุรี จำนวน 4,500,000 บาท โดย อุตสาหกรรม จ.ราชบุรี
  13. โครงการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา จำนวน 2,000,000 บาท โดย อุตสาหกรรม จ.ราชบุรี
  14. โครงการประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ในหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 146,000 บาท โดย สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าราชบุรี
  15. โครงการประบปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จำนวน 567,000 บาท โดย อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
  16. ปรับปรุงภูมิทัศน์ปลูกต้นไม้ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชและพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บริเวณภายในพื้นที่ ต.นครชุมน์ จำนวน 1,980,000 บาท โดย อ.บ้านโป่ง

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาการบริหารและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์

  1. หน่วยงานใน จ.ราชบุรี เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง

กลยุทธ์

  1. พัฒนาคุณภาพการบริหารภาครัฐ
  2. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
  4. พัฒนาการบริการประชาชน

โครงการและงบประมาณประจำปี 2554 ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4

  1. ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จำนวน 10,000,000 บาท โดย สำนักงาน จ.ราชบุรี
  2. โครงการจังหวัดเคลื่อนที่ จำนวน 371,000 บาท โดย ปกครอง จ.ราชบุรี
  3. โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารและกระบวนการสร้างคุณค่าการบริการด้านที่ดิน จำนวน 2,584,0000 บาท โดย ที่ดิน จ.ราชบุรี
  4. โครงการพัฒนาศักยภาพด้านสารสนเทศและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารและบริการ จำนวน 2,000,000 บาท โดย สำนักงาน จ.ราชบุรี
  5. โครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ จำนวน 5,000,000 บาท โดย สำนักงาน จ.ราชบุรี

ที่มา : เอกสารประกอบการประชุม คณะกรรมการบริหารงาน จ.ราชบุรี แบบบูรณาการ (ก.บ.จ.)ครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2552 เวลา 10.00 น. ณ ห้องบลูไดมอนด์ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ อ.เมือง จ.ราชบุรี

อ่านต่อ >>