วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ.2557-2560

จาก การประเมินสถานการณ์และความเสี่ยง ศักยภาพ และความต้องการของประชาชนของจังหวัดราชบุรี ได้กำหนดเป้าหมาย และยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะปี 2557 – 2560 ดังนี้

วิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัด 
“ผู้นำเกษตรปลอดภัย มุ่งให้เป็นเมืองน่าอยู่ และใช้ทุนทางปัญญาสร้างรายได้” 

พันธกิจ 
  1. ดำเนินการยกระดับคุณภาพ และมาตรฐานสินค้าและบริการให้เป็นสินค้ามีคุณภาพ ปลอดภัย และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด 
  2. พัฒนาครอบครัวและชุมชนให้เข้มแข็ง สร้างวินัยทางสังคม ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเป็นเมืองที่น่าอยู่ 
เป้าประสงค์โดยรวม 
  1. ผลผลิตทางการเกษตรต่อหน่วยเพิ่มขึ้น และได้รับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย
  2. สินค้าที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ได้รับการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น 
  3. รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
  4. คุณภาพชีวิตของประชาชนสูงขึ้น
  5. มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ 
ประเด็นยุทธศาสตร์ 

  • ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัย เพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิต ให้ความสำคัญกับการดำเนินการยกระดับการผลิตสินค้าจังหวัดราชบุรี โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจและยกระดับความเชี่ยวชาญแก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร กลุ่มอาชีพวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ โดยการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิต การใช้พลังงานทดแทน พัฒนามาตรฐานการผลิตให้สินค้าและบริการที่สำคัญของจังหวัดราชบุรีเป็นที่ยอมรับของตลาดและผู้บริโภค เช่น สินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย 

เป้าประสงค์
กลยุทธ์
ตัวชี้วัด
1. สินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูปได้รับการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย
-   พัฒนาโครงสร้างทางด้านการเกษตรปลอดภัย
-   พัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า
-    สินค้าเป้าหมายมีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10 ภายใน ปี
-    สินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองความปลอดภัยเพิ่มขึ้น
2.ผลผลิตทางการเกษตรต่อหน่วยพื้นที่การผลิตเพิ่มขึ้นและจำหน่ายได้มากขึ้น
-   ส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิต
-   ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายการผลิตของชุมชน/วิสาหกิจชุมชน
-   พัฒนาและขยายช่องทางสินค้าเกษตรปลอดภัยทั้งในและต่างประเทศ
-   พัฒนาศักยภาพการแข่งขันเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC
-    จำนวนกลุ่มต่างๆเพิ่มขึ้นร้อยละ10 ภายใน ปี
-    ยอดการจำหน่ายสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ10 ภายใน ปี

  • ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และเพิ่มมูลค่าผลผลิตเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) จากสินค้าบริการและการท่องเที่ยว ตลอดจนสนับสนุนบุคลากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะทางศิลปะในการสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่า การใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการ โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการท่องเที่ยว ผู้ผลิตสินค้า OTOP งานฝีมือและหัตถกรรม ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน และงานสถาปัตยกรรม

เป้าประสงค์
กลยุทธ์
ตัวชี้วัด
1.กลุ่มสินค้าที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ได้รับการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น

-   ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
-   พัฒนาและขยายการตลาดทั้งในและต่างประเทศ

-    จำนวนสินค้าเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่ได้รับการส่งเสริมเพิ่มขึ้นปีละ5 ชนิดสินค้า
-    มีช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์   OTOP เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า  2 ช่องทาง
2.ภาพลักษณ์และรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดสูงขึ้น
-   พัฒนาการบริการเพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยคงเอกลักษณ์เดิมไว้
-   พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวิถีชุมชน
-   สร้างเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรม และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว
-   รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ ภายใน ปี
-   การท่องเที่ยวและการบริการได้รับมาตรฐาน แหล่งต่อปี



  • ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  3  พัฒนาสังคมคุณธรรมและชุมชนเข้มแข็ง  ให้ความสำคัญกับการดำเนินการส่งเสริมให้มีการน้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการดำรงชีวิตการสร้างครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ องค์กรชุมชนมีประสิทธิภาพ ประชาชนได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้  มีสุขภาวะเหมาะสม การบังคับใช้กฎหมายทั่วถึงและเป็นธรรม สร้างวินัยทางสังคม สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แก้ไขปัญหาการว่างงาน แก้ไขปัญหายาเสพติด ตลอดจนแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนในกลุ่มเสี่ยง

เป้าประสงค์
กลยุทธ์
ตัวชี้วัด
1.ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ 
 พอเพียง

-    พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ประชาชน
-    พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน  เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านกายภาพ
-    พัฒนาองค์กรชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
-       ร้อยละของจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน/สถานประกอบการที่มีการส่งเสริมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
-       ร้อยละของจำนวนชุมชนที่ได้รับการพัฒนา การเรียนรู้การดูแลสุขภาพตนเองและการสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น

2.ประชาชนในชุมชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง เพื่อส่งเสริมการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และพึ่งตนเอง
-   เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งใน-นอกระบบและตามอัธยาศัย

-               ร้อยละของประชาชนในชุมชนได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งใน-นอกระบบและตามอัธยาศัย


  • ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  4  พัฒนาความอุดมสมบูรณ์และคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ เพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียว ระบบเตือนภัย การบริหารจัดการน้ำการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยลดมลพิษทางน้ำ ทรัพยากรถูกใช้อย่างยั่งยืนรู้คุณค่า ปรับสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ให้เป็นเมืองน่าอยู่  

เป้าประสงค์
กลยุทธ์
ตัวชี้วัด
1. เพิ่มพื้นที่สีเขียวและรักษาป่าต้นน้ำและป่าชุมชน

-   ส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและ ธนาคารต้นไม้
-   ปราบปรามและสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทรัพยากรป่าไม้อย่างเป็นระบบ

-       พื้นที่ป่าไม้ในเขตป่าอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารไม่ลดลงจากภาพถ่ายดาวเทียม
-       พื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5
2. อนุรักษ์ และเสริมสร้างกลไกในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แบบบูรณาการทุกระดับเพื่อแก้ไขปัญหา   ภัยแล้งและบรรเทาอุทกภัย
-   พัฒนากลไกการบริหารจัดการ และระบบสารสนเทศทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ
-   อนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำ เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายน้ำ

-       จำนวนแผนและกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

-       พื้นที่ได้รับประโยชน์จากการกระจายน้ำของอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี
-       แหล่งน้ำที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุง อนุรักษ์และฟื้นฟูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
3.สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-   ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน อปท. และภาคเอกชนให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-       จำนวนบุคลากร ประชาชน องค์กรลุ่มน้ำ ผู้แทน อปท. และเครือข่ายได้รับการพัฒนาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 600 คนต่อปี

  • ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  5  พัฒนาการบริหารจัดการและเสริมสร้างความมั่นคง  ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่สันติสุข การสร้างความสมานฉันท์และสร้างภูมิคุ้มกันในสังคมทุกระดับลดความเสี่ยงผลกระทบจากภัยคุกคาม ตลอดจนการพัฒนาการบริหารจัดการให้หน่วยงานในจังหวัดราชบุรีเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง

เป้าประสงค์
กลยุทธ์
ตัวชี้วัด
1.ลดปัญหาอาชญากรรมและปัญหา
ยาเสพติด

-    ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม

-   ร้อยละของความพึงพอใจของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดเพิ่มขึ้น
2.ปกป้อง และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
-    สนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในทุกมิติ
-    ส่งเสริมให้ประชาชนมีความตระหนักในสถาบันชาติ   ศาสนา พระมหากษัตริย์
-   ประชาชนนำหลักการตามพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10
-   จำนวนกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เพิ่มขึ้น
3.ลดแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย
-    ป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองและแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย   
-   แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายจดทะเบียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5

4.หน่วยงานในจังหวัดราชบุรีเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง
- พัฒนาคุณภาพการบริหารภาครัฐ
-  ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการร้อยละ 80

ดาวน์โหลดแผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ.2557-2560 ทั้งหมด

******************************************
ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดราชบุรี 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น