วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดราชบุรี ปี 2551

โครงสร้างเศรษฐกิจ จ.ราชบุรีสัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์ จ.ราชบุรี ณ ราคาประจำปี 2551
(ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ/ปรับปรุงข้อมูล ณ 29 ม.ค.2553)

  • สาขาไฟฟ้า ก๊าซและการประปา ร้อยละ 26.44
  • สาขาอุตสาหกรรม ร้อยละ 23.23
  • สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 16.10
  • สาขาค้าส่ง-ค้าปลีก ร้อยละ 10.62
  • สาขาบริหารราชการแผ่นดิน ร้อยละ 4.37
  • สาขาการศึกษา ร้อยละ 4.15
  • สาขาอื่นๆ ร้อยละ 15.09
ภาวะเศรษฐกิจ จ.ราชบุรี ขึ้นอยู่กับ สาขาการไฟฟ้าก๊าซและประปา, สาขาอุตสาหกรรม,สาขาเกษตรกรรม และสาขาค้าส่ง-ค้าปลีกเป็นหลัก โดยสัดส่วนตามโครงสร้างผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) ณ ราคาประจำปี คือ ร้อยละ 26.44, 23.23, 16.10 และร้อยละ 10.62 ตามลำดับ
ในปี พ.ศ.2551 จ.ราชบุรี มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดทั้งสิ้น 112,981 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 103,644 ล้านบาท ในปี 2550 เท่ากับ 9,337 ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวของจังหวัดราชบุรี ปี 2551 เท่ากับ 136,168 บาทต่อคนต่อปี มีจำนวนประชากรโดยประมาณ 830,000 คน
ภาคเกษตร
ในปี 2551 สร้างมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้น จำนวน 18,536 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 15,986 ล้านบาท ในปี 2550 เท่ากับ 2550 ล้านบาท เนื่องจากผลผลิตและราคาพืชผลที่สำคัญยังอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับปี 2550 ทำให้รายได้ของเกษตรกรยังขยายตัวในเกณฑ์ดี
ภาคนอกเกษตร
ในปี 2551 สร้างมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้น จำนวน 94,445 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 87,657 ล้านบาท ในปี 2550 เท่ากับ 6,788 ล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของ สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา สาขาการค้าส่ง-ค้าปลีก และสาขาการก่อสร้างเป็นสำคัญ ขณะที่อุตสาหกรรมลดลงจากปีก่อน
สาขาการอุตสาหกรรม
ในปี 2551 สร้างมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้น จำนวน 26,251 ล้านบาท ลดลงจาก 28,778 ล้านบาท ในปี 2550 เท่ากับ 2,527 ล้านบาท จากการลดลงของอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศคู่ค้าชะลอตัว ประกอบการแข็งค่าของเงินบาททำให้การส่งออกลดลง ด้านปัจจัยภายในประเทศ ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมือง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน ทำให้มีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
โครงสร้างการผลิตสาขาอุตสาหกรรม
โดยเฉลี่ยการผลิตสาขาอุตสาหกรรมของ จ.ราชบุรี แบ่งการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 42.19 รองลงมาเป็นการผลิตสิ่งทอสิ่งถักร้อยละ 15.49 การผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะร้อยละ 9.87 บาท การผลิตเครื่องเรือนร้อยละ 5.67 การผลิตเครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้าร้อยละ 5.22 และที่เหลือเป็นการผลิตอื่นๆ ร้อยละ 21.56 ดังสรุปได้ดังนี้
  • การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 42.19
  • การผลิตสิ่งทอสิ่งถัก ร้อยละ 15.49
  • การผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ ร้อยละ 9.87
  • การผลิตเครื่องเรือน ร้อยละ 5.67
  • การผลิตเครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ร้อยละ 5.22
  • การผลิตอื่นๆ ร้อยละ 21.56

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดราชบุรี (GPP) ณ ราคาประจำปี 2551p

ภาคเกษตร รวม 18,536 ล้านบาท (+) (ปี 2550=15,986 ล้านบาท) แยกเป็น

  • สาขาการเกษตรกรรม 18,194 ล้านบาท (+) (ปี 2550=15,680 ล้านบาท)
  • สาขาการประมง 342 ล้านบาท (+) (ปี 2550=306 ล้านบาท)

ภาคนอกเกษตร รวม 94,445 ล้านบาท (+) (ปี 2550=87,657 ล้านบาท) แยกเป็น

  • สาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน 2,011 ล้านบาท (+) ( ปี 2550=1,866 ล้านบาท)
  • สาขาการอุตสาหกรรม 26,251 ล้านบาท (-) (ปี 2550=28,778 ล้านบาท)
  • สาขาไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา 29,871 ล้านบาท (+) (ปี 2550=22,849 ล้านบาท)
  • สาขาการก่อสร้าง 2,182 ล้านบาท (+) (ปี 2550=1,902 ล้านบาท)
  • สาขาการขายส่ง การขายปลีก 12,001 ล้านบาท (+) (ปี 2550=10,787 ล้านบาท)
  • สาขาโรงแรม และภัตตาคาร 463 ล้านบาท (+) (ปี 2550=441 ล้านบาท)
  • สาขาการขนส่ง 3,430 ล้านบาท (-) (ปี 2550=3,453 ล้านบาท)
  • สาขาตัวกลางทางการเงิน 2,431 ล้านบาท (+) (ปี 2550=2,208 ล้านบาท)
  • สาขาบริการด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1,856 ล้านบาท (-) (ปี 2550=1,900 ล้านบาท)
  • สาขาการบริหารราชการแผ่นดิน 4,934 ล้านบาท (+) (ปี 2550=4,785 ล้านบาท)
  • สาขาการศึกษา 4,690 ล้านบาท (+) (ปี 2550=4,481 ล้านบาท)
  • สาขาการบริการสุขภาพ 3,187 ล้านบาท (+) (ปี 2550=3,068 ล้านบาท)
  • สาขาบริการชุมชน 1,065 ล้านบาท (-) (ปี 2550=1,071 ล้านบาท)
  • สาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 73 ล้านบาท (+) (ปี 2550=70 ล้านบาท)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดราชบุรี(GPP) 112,981 ล้านบาท (+) (ปี 2550=103,644 ล้านบาท)
รายได้ต่อตัว 136,168 บาท/คน/ปี (+) (ปี 2550=125,557 บาท) ประชากร 830,000 คน

ที่มา : เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดราชบุรี (กรอ.จังหวัดราชบุรี) ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันศุกร์ที่ 5 ก.พ.2553 ณ ห้องประชุมหลวงยกกระบัตร ศาลากลาง จ.ราชบุรี

1 ความคิดเห็น:

  1. ข้อมูลน่าสนใจมาก แต่ประเด็นที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ เมื่อไรประเทศไทยและประเทศราชบุรีของเราจะมีข้อมูล สารสนเทศที่เป็นปัจจุบันใช้เทียบเคียง(BM)และวางแผนพัฒนาได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์และก้าวทันการเปลี่ยนแปลง มากกว่าที่เป็นอยู่...(ธัญญา ศิโรรัตน์ธัญโชค)

    ตอบลบ